วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สรุปบทที่ 5 E-Marketing



E-Marketing   
        ย่อมาจากคำว่า  Electronic Marketing หรือเรียกว่า “การตลาดอิเล็กทรอนิกส์” หมายถึงการดำเนินกิจกรรมทางการตลาดโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ที่ทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน เข้ามาเป็นสื่อกลาง ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ หรือพีดีเอ ที่ถูกเชื่อมโยงเข้าด้วยกันด้วยอินเทอร์เน็ต มาผสมผสานกับวิธีการทางการตลาด การดำเนินกิจกรรมทางการตลาด อย่างลงตัวกับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายขององค์กรอย่างแท้จริง
คุณลักษณะเฉพาะของ E-Marketing - เป็นการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายในลักษณะเฉพาะเจาะจง (Niche Market) - เป็นลักษณะเป็นการสื่อสารแบบ 2 ทาง (2 Way Communication) - เป็นรูปแบบการตลาดแบบตัวต่อตัว (One to One Marketing หรือ Personalize Marketing) ที่ลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายสามารถกำหนดรูปแบบสินค้าและบริการได้ตามความต้องการของตนเอง - มีการกระจายไปยังกลุ่มผู้บริโภค (Dispersion of Consumer) - เป็นกิจกรรมที่นักการตลาดสามารถสื่อสารไปยังทั่วทุกมุมโลก ตลอด 24 ชั่วโมง (24 Business Hours) - สามารถติดต่อสื่อสาร โต้ตอบ ปฏิสัมพันธ์ได้อย่างรวดเร็ว (Quick Response) - มีต้นทุนต่ำแต่ได้ประสิทธิผล สามารถวัดผลได้ทันที (Low Cost and Efficiency) - มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมการตลาดแบบดั้งเดิม (Relate to Traditional Marketing) - มีการตัดสินใจในการซื้อจากข้อมูลข่าวสารที่ได้รับ (Purchase by Information)

ความแตกต่างกันระหว่าง E-Marketing, E-Business และ E-Commerce
                    E-Marketing คือรูปแบบการทำการตลาดในรูปแบบหนึ่งโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือดิจิตอลเข้ามาช่วยในการทำการตลาด แต่ในความหมายสำหรับ E-Business หรือ Electronic Business นั้นจะมีความหมายที่ใกล้เคียงกับคำว่า E-Commerce  หรือ Electronic Commerce มากกว่า เพียงแต่ว่าความหมายของ E-Business จะมีขอบเขตที่กว้างกว่า โดยหมายถึงการทำกิจกรรมในทุก ๆ ขั้นตอนของกระบวนการธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือเรียกว่า “ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์” ทั้งการทำการค้าการซื้อการขาย การติดต่อประสานงาน งานธุรการต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในสำนักงาน และการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นกระบวนการในการดำเนินการทางธุรกิจที่อาศัยระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางธุรกิจ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ตลอดกิจกรรมทางธุรกิจ (Value Chain) และลดขั้นตอนของการที่ต้องอาศัยแรงงานคน (Manual Process) มาใช้แรงงานจากเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computerized Process)แทน รวมถึงช่วยให้การดำเนินงานภายใน ภายนอก มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้ามากขึ้นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นการควบคุมสต๊อคและการชำระเงินให้เป็นระบบอัตโนมัติ ดำเนินการได้รวดเร็ว และทำได้ง่าย ลักษณะการนำ E-Business มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจได้แก่
     - การเชื่อมต่อระหว่างกัน ภายในองค์กร (Intranet)
     - การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับภายนอกองค์กร (Extranet)
     - การเชื่อมต่อระหว่างกัน กับลูกค้าทั่วโลก (Internet)



ประโยชน์ของ  e-Marketing

                  นักการตลาดชื่อ Smith and Chaffey ได้กล่าวถึงประโยชน์จากการนำเอาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตมาช่วยสนับสนุนการทำการตลาดและก่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายโดยมองว่าE- Marketing เป็นกระบวนการในการจัดการทางการตลาด โดยมีการเน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญแก่ลูกค้าเป็นหลัก ในขณะที่แสดงถึงการเชื่อมโยงการทำงานทางธุรกิจในอันที่จะช่วยสร้างความสำเร็จในผลกำไรให้กับธุรกิจ ซึ่งสามารถแบ่งกระบวนการในการจัดการทางการตลาดได้ดังนี้
        การจำแนกแยกแยะ (Identifying) สามารถทำการจำแนกแยกแยะได้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีความต้องการอย่างไร อยู่ที่ไหน และมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อสินค้าอย่างไร โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย
              การทำนายความคาดหวังของลูกค้า (Anticipating) เนื่องจากความสามารถของอินเทอร์เน็ตนั้นช่วยเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูล และสามารถซื้อสินค้าได้สะดวกยิ่งขึ้น โดยการเข้าใจถึงความต้องการของลูกค้าถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำ E-Marketing ตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ สายการบินต้นทุนต่ำ easy Jet (http://www.easyjet.com) มีส่วนสนับสนุนทำให้มีรายได้จากการผ่านออนไลน์กว่า 90%
                สนองความพอใจของลูกค้า (Satisfying) ถือเป็นความสำเร็จในการทำ E-Marketing ในการสร้างความพอใจให้แก่ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์ การเพิ่มขึ้นของลูกค้านั้นอาจจะมาจาก การใช้งานง่าย การสนับสนุนการให้บริการแก่ลูกค้า เป็นต้น


เครื่องมือที่สำคัญของการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
         - Digital advertising - Raid Marketing  - e-mail Marketing - Video Marketing - Blogging  - Mobile marketing - Pay Per Click - Search Engine Optimization - Social Media Marketing
ส่วนผสมทางการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
          - ผลิตภัณฑ์ (Product)
          - ราคา (Price)          - สถานที่ (Place)          - การส่งเสริมการขาย (Promotion)          - เครือข่ายสังคม (Social Network)          - การขายบนเว็บไซต์          - การบริการลูกค้า          - ระบบป้องกันความปลอดภัย          - ระบบฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อนำมาใช้ในการบริการ (Personalization Service)

7 ขั้นตอนสำหรับการทำ e-Marketing


6 Cs กับความสำเร็จของการทำเว็บ
          1. Content  (ข้อมูล)
      - ข้อมูลใหม่สดเสมอ
      - ข้อมูลมีความถูกต้อง
      - อ้างอิงถึงแหล่งที่มาของข้อมูล
การจัดการและบริหารข้อมูล (Content Management )
       1. เว็บไซต์ที่มีข้อมูลไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย (Static Content)
       2. เว็บไซต์ที่เปลี่ยนแปลงข้อมูลอยู่เสมอ (Dynamic Content)

          2. Community (ชุมชน,สังคม)
                      Community คือ การรวมตัวของกลุ่มคนจำนวนหนึ่ง ที่อยู่ร่วมกันภายใต้สถานๆ หนึ่ง โดยมการพูดคุย หรือกิจกรรมร่วมกันภายในสถานที่แห่งนั้น

          3. Commerce (การค้าขาย)

              Commerce หรือ การทำการค้าขายผ่านเว็บไซต์ ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับเว็บไซต์ได้ เช่นเว็บข้อมูล (Content), เว็บโปรแกรมมิ่ง, เว็บ Community, หรือ เว็บโป๊  ก็สามารถทำ E-Commerce 
           4. Customization (การปรับให้เหมาะสม)

             C - Customization คือ รูปแบบการให้บริการที่สามารถปรับแต่งการใช้งานให้มีความเหมาะสมกับ ผู้ใช้บริการภาย ในเว็บไซต์
             • การปรับแต่งข้อมูลเพื่อการบริการ (Service) http://my.MSN.com 
             • การปรับแต่งสินค้าเพื่อการค้า (Commerce) www.Nike.com              • การเก็บข้อมูลของลูกค้าเพื่อการนำเสนอข้อมูล (Information) www.Amazon.com


            5. Communication, Channel (การสื่อสารและช่องทาง)




                 Communication คือ ช่องทางในการสื่อสารและติดต่อกับผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ของคุณ  จริงๆ แล้วสิ่งที่คุณมีอยู่ในเว็บไซต์คุณคือ ข้อมูล (Content) หรือ บริการ (Service) ซึ่งเป็นเพียงแค่ “ช่องทาง” ในการ “เข้าถึง” ข้อมูลหรือบริการเหล่านั้น


              6. Convenience (สะดวกสบาย)



การใช้งานง่าย (Usability)

           1.  "ดู" ง่าย
            • การวางรูปแบบ (Layout)
            • รูปภาพ และไอค่อน ( Image & Icon)
            • ขนาดตัวอักษร (Font) และการจัดหน้า
            • การออกแบบระบบนำทางที่ดี (Navigation) 
            • มี  Site map ในเว็บ
           2. "เรียนรู้" ได้ง่าย (easy to learn)
           3. "จดจำ" วิธีการใช้งานได้ง่าย
           4. "เข้าถึง" ได้ง่าย
           5. ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ (efficient to use)
           6. การเจอปัญหาและการแก้ไข (Help & FAQ)



สรุปบทที่ 4 E-Commerce

ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business)
             คือกระบวนการดำเนินธุรกิจโดยอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายที่เรียกว่าองค์การเครือข่ายร่วม (Internetworked Network) ไม่ว่าจะเป็นการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) การติดต่อสื่อสารและการทำงานร่วมกัน หรือแม้แต่ระบบธุรกิจภายในองค์กร


                พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) คือ การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การโฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทองค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการโกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้า เป็นต้น จึงลดข้อจำกัดของระยะทาง และเวลาลงได้


กรอบการทำงาน (E-Commerce Framework)





การประยุกต์ใช้ (E-commerce Application)
         - การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (E-Retailing)
         - การโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์ (E-Advertisement)
         - การประมูลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auctions)
         - การบริการอิเล็กทรอนิกส์(E-Service)
         - รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (E-Government)
         - การพาณิชย์ผ่านระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ (M-Commerce : Mobile Commerce)



โครงสร้างพื้นฐาน (E-Commerce Infrastructure)
         1. ระบบเครือข่าย (Network)
         2. ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Chanel Of Communication)
         3. การจัดรูปแบบและการเผยแพร่เนื้อหา(Format & Content Publishing)
         4. การรักษาความปลอดภัย (Security)

การสนับสนุน (E-Commerce Supporting)
          ส่วนของการสนับสนุนจะทำหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนส่วยของการประยุกต์ใช้งานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เปรียบเสมือนเสาหลักของบ้าน ที่ทำหน้าที่ค้ำจุนให้หลังคาบ้านอย่างไรก็ตามเสาบ้านก็ต้องอาศัยพื้นบาน ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อที่จะยืนหยัดอยู่ได้อย่างมั่นคงต่อไป สำ หรับส่วนสนับสนุนของ E-Commerce มีองค์ประกอบ 5 ส่วนด้วยกันดังต่อไปนี้
          1. การพัฒนาระบบงาน E-Commerce Application Development
          2. การวางแผนกลยุทธ์ E-Commerce Strategy
          3. กฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ E-Commerce Law
          4. การจดทะเบียนโดเมนเนม Domain Name Registration
          5. การโปรโมทเว็บไซต์ Website Promotion


The Dimensions of E-Commerce




ประเภทของ E-Commerce


กลุ่มธุรกิจที่ค้ากำไร (Profits Organization)
         1. Business-to-Business (B2B)
         2. Business-to-Customer (B2C)
         3. Business-to-Business-to-Customer (B2B2C)
         4. Customer-to-Customer (C2C)
         5. Customer-to-Business (C2B)
         6. Mobile Commerce

กลุ่มธุรกิจที่ไม่ค้ากำไร (Non-Profit Organization)
         1. Intrabusiness (Organization) E-Commerce
         2. Business-to-Employee (B2E)
         3. Government-to-Citizen (G2C)
         4. Collaborative Commerce (C-Commerce)
         5. Exchange-to-Exchange (E2E)
         6. E-Learning




แบบจำลองทางธุรกิจ
             หมายถึง วิธีการดำเนินการทางธุรกิจที่ช่วยสร้างรายได้ อันจะทำให้บริษัทอยู่ต่อไปได้ นอกจากนี้ยังรวมถึงกิจกรรมที่ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Add) ให้กับสินค้าและบริการวิธีการที่องค์กรคิดค้นขึ้นมาเพื่อประยุกต์ใช้ทรัพยากรขององค์กรอย่างเต็มที่ อันจะก่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดและเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการ

ข้อดีของ E-Commerce
           1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
           2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
           3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
           4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
           5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
           6.สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ใช้บริการอินเทอร์เนตได้ง่าย
           7.ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาสำหรับผู้ซื้อและผู้ขาย
           8.ไม่จำเป็นต้องเปิดเป็นร้านขายสินค้าจริงๆ

ข้อเสียของ E-Commerce
          1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสทิ ธิภาพ
          2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
          3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
          4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
          5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน



วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แผนกลยุทธ์ขององค์กร บริษัท โออิชิกรุ๊ป จํากัด (มหาชน)



ประวัติความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงพัฒนาที่สำคัญ
                 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542 คุณตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ ได้เปิดให้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นสไตล์บุฟเฟ่ต์ตลอดทั้งวัน แห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ "OISHI" หรือ "โออิชิ" ที่สุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) ซึ่งสร้างความแตกต่างและความแปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ทั้งรูปแบบการให้บริการและราคา โดยคำนึงถึงความสดใหม่และความคุ้มค่าของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ทำให้ได้รับกระแสตอบรับอย่างสูงจากผู้บริโภค  ส่งผลให้ชื่อ "โออิชิ" มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ได้รับความนิยม และความเชื่อถือ จากกลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัยอย่างรวดเร็ว ต่อมาในปี 2543 ได้จัดตั้ง บริษัท โออิชิ เรสเตอร์รอง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท (ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) "บริษัทฯ") กิจการร้านอาหารได้เริ่มขยายสาขาออกไปในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อตอบรับกระแสความนิยม และความต้องการของลูกค้า ต่อมาบริษัทฯ ได้เล็งเห็นศักยภาพและโอกาส ในการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ จึงได้เปิดร้านอาหารประเภทดังกล่าวภายใต้ชื่อร้านค้าต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มลูกค้า ดังสามารถลำดับพัฒนาการสำคัญของธุรกิจในกลุ่มบริษัท จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้ดังนี้
  • 2542 เปิดดำเนินการร้านอาหารญี่ปุ่น "โออิชิ" สาขาแรกที่สุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ)
  • 2544 เปิดให้บริการร้านบะหมี่ญี่ปุ่น ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย และรูปแบบการตกแต่งร้านที่ทันสมัย ภายใต้ชื่อ "โออิชิ ราเมน
  • 2544 เปิดให้บริการร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ "อิน แอนด์ เอาท์ เดอะเบเกอรี่ คาเฟ่"
  • 2545 เปิดบริการร้านอาหารระบบสายพานวนสไตล์บุฟเฟ่ต์ ที่บริการทั้งข้าวปั้นหน้าต่างๆ และสุกี้หม้อไฟญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ "ชาบูชิ"
  • 2545 เปิดร้านค้าแบบสะดวกซื้อสำหรับข้าวปั้นหน้าต่างๆ ภายใต้ชื่อ "โออิชิ ซูชิบาร์"
  • 2545 เปิดบริการ Dining Complex ภายใต้ชื่อ "ล็อกโฮม
  • 2546 เปิดดำเนินการครัวกลางแห่งใหม่ที่โรงงานนวนคร หน่วยผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อสนับสนุนการขายภายในร้านค้าของบริษัทฯ
  • 2546 เริ่มการผลิตเครื่องดื่มชาเขียวออกสู่ตลาด ภายใต้ชื่อ "โออิชิ กรีนที"
  • 2546 เปิดให้บริการร้านสุกี้และบาร์บีคิว ภายใต้ชื่อ "โอเคสุกี้แอนด์บาร์บีคิว"
  • 2546 ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับร้านโออิชิ ราเมน และ "อิน แอนด์ เอาท์ เดอะเบเกอรี่ คาเฟ่"
  • 2547 แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547
  • 2547 นำหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทเข้าทำการซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในนาม "OISHI" เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547
  • 2547 ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับ ร้านโออิชิ บุฟเฟ่ต์
  • 2547 เปิดให้บริการ "โออิชิ แกรนด์" แกรนด์บุฟเฟ่ต์ ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ ด้วยบรรยากาศสไตล์โมเดิร์นแจแปนนิส กับบริการเหนือระดับ และอาหารหลากหลายชนิด เกรด A และหาทานยาก
  • 2548 เริ่มผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำผลไม้ผสมอะมิโน ภายใต้ชื่อ "อะมิโน โอเค"
  • 2549 มิถุนายน 2549 เปิดดำเนินการโรงงาน อมตะนคร
  • 2549 พฤศจิกายน 2549 ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เครื่องดื่มน้ำผลไม้ รสส้ม ภายใต้ชื่อ "เซกิ ซุปเปอร์ ออเร้นจ์"
  • 2550 เปิดให้บริการร้านอาหาร ภายใต้ชื่อ "ชายทะเล"
  • 2550 ออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้เซกิ รสทับทิม
  • 2550 ออกชาเขียว รสชาดำผสมมะนาว
  • 2551 มีนาคม 2551 ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กาแฟพร้อมดื่ม ภายใต้ชื่อ "คอฟฟิโอ"
  • 2551 เปิดให้บริการร้านอาหาร Maido Ookini Shokudo แฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่น

วิสัยทัศน์
             เป็นผู้นำและสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนรุ่นใหม่




พันธกิจ
  • รักษาคุณภาพการผลิตและการบริการธุรกิจ ทางด้านอาหาร เบเกอรี่ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มุ่งมั่นสร้างและรักษาความนิยมของผู้บริโภค ในสินค้าของ "โออิชิ" ให้มีความต่อเนื่อง อีกทั้งให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีการจัดการด้านสุขลักษณะที่ดี
  • เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพปลอดภัยและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า เพื่อให้ได้รับการยอมรับ จากทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
  • ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิต การวิจัย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการแข่งขัน ในด้านราคาและด้านคุณภาพ กับคู่แข่งขัน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทย มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น


แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ 

             - การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (PEST Analysis) 
            - การวิเคราะห์แรงผลักดัน 5 ประการ (Five Force Analysis) 
            - การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร (SWOT Analysis)
            - การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวม(TOWS Matrix) 
            - กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate-level Strategy) 
            - กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business-level Strategy) 
            - กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional-level Strategy)

แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการและกลยุทธ์การตลาด
             - การแบ่งส่วนตลาด การกําหนดตลาดเป้ าหมาย และการวางตําแหน่งผลิตภัณฑ์ (STP) 
            - กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (4Ps Marketing Mix Strategy) 
            - กลยุทธ์ผลัก-กลยุทธ์ดึง (Push-Pull Strategy)





แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์(Strategic Management) 
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (PEST Analysis) 
               เป็นการวิเคราะห์ปจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งเป็นปจจัยในระดับมหภาคอันได้แก่ กฎหมายและการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และเทคโนโลยี โดยปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้อาจก่อให้เกิดโอกาสและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการดําเนินกิจการของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ดังต่อไปนี้

สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal) 
                เป็นการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและกฎหมายที่อาจจะมีผลทั้งในเชิง บวกและเชิงลบต่อการดําเนินงานขององค์กร เช่น สถานะความมั่นคงของรัฐบาล แนวโน้มของ กฎระเบียบข้อบังคับที่จะออกมาใหม่และกฎระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปจจุบัน นโยบายภาษีและการค้า การออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ลักษณะของสังคมและกฎหมาย การจ้างงาน เป็นต้น

สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic) 
                 เป็นการวิเคราะห์ทิศทางของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานขององค์กร เช่น สถานการณ์ปจจุบันและการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอัตราเงินเฟ้อและอัตรา ดอกเบี้ย ผลผลิตมวลรวมในประเทศ การค้าระหว่างประเทศและดุลการชําระเงิน และอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น

สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural)
                 เป็นการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการ ดําเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการเติบโตของจํานวนประชากรและอายุเฉลี่ย สุขภาพของ ประชากร การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากร สังคมวิถีชีวิตของสังคมเมืองและสังคมชนบท ระดับการศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น

สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technology)
                 เป็นการวิเคราะห์สภาพความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่จะมีผลต่อการดําเนินงานของ องค์กร เช่น ผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตและระบบการ ติดต่อสื่อสารแบบมีสายและแบบไร้สาย และระยะทางที่ไกลจากสํานักงานใหญ่ กิจกรรมการวิจัย และพัฒนา ผลกระทบของการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีเป็นต้น

การแข่งขันระหว่างธุรกิจที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม (Rivalry among existing firms)
                   เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับคู่แข่งขันทั้งหมดที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับเราผลิตภัณฑ์และ ตลาดเดียวกับเราเพื่อตรวจสอบดูว่าคู่แข่งของเรามีกลยุทธ์อะไรบ้างที่มากระทบองค์กรของเรา เช่นการวิเคราะห์ขนาดของคู่แข่งขัน กําลังการผลิต เงินทุน ส่วนแบ่งการตลาด กลยุทธ์ของคู่ แข่งขัน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการแข่งขัน ซึ่งถ้าการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตใน อุตสาหกรรมมีความรุนแรงมากผลกําไรของอุตสาหกรรมก็จะลดลงโดยสามารถ พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของการแข่งขันได้ดังต่อไปนี้
               - จํานวนและดุลยภาพของคู่แข่งขัน หมายถึง หากมีคู่แข่งขันอยู่จํานวนมากแต่ละ องค์กรย่อมมีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ ออกมาต่อสู้แข่งขันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ให้ตนเองซึ่งยิ่งทําให้ก่อให้เกิดการแข่งขันรุนแรงยิ่งขึ้น 
               - อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมจะส่งผลต่อโอกาสในการเจริญเติบโตของ บริษัทในอุตสาหกรรมทําให้มียอดขายเพิ่ม หากมีอัตราการเติบโตตํ่าก็จะส่งผลต่อการแข่งขัน ด้านราคาทําให้กําไรน้อยลง 
               - คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการ ถ้าสินค้าหรือบริการไม่มีความแตกต่างกันยิ่ง ต้องมีการนําเสนอที่มากทําให้ต้นทุนการตลาดสูงด้วย 
               - อุปสรรคกีดขวางการออกจากอุตสาหกรรม เช่น เป็นทรัพย์สินที่เป็นเฉพาะด้าน หรือมีการลงทุนสูงในตัวทรัพย์สิน ข้อตกลงกับสหภาพแรงงานในการจ่ายชดเชยที่สูงมากเป็นต้น
               - ความภักดีในตรายี่ห้อ ถ้าลูกค้ามีความภักดีในตรายี่ห้อสูงการแข่งขันก็จะน้อย 
               - กําลังการผลิตส่วนเกิน ถ้าอุตสาหกรรมมีกําลังผลิตส่วนเกินการแข่งขันจะรุนแรง
               - ต้นทุนคงที่ของธุรกิจ และต้นทุนในการเก็บรักษา
               - คู่แข่งมีเป้าหมายกลยุทธ์ที่หลากหลาย เช่น มีเป้าหมายต้องการส่วนครองตลาด ไม่เน้นกําไร ต้องการสภาพคล่องในสภาวการณ์ช่วงนั้นการแข่งขันก็จะรุนแรง








การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่ประกอบด้วยส่วนของปัจจัยภายใน คือ จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) และปจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก คือ โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ผลจากการวิเคราะห์จะถูกนําไปใช้เป็น ฐานข้อมูลในการกําหนดทิศทางการดําเนินงานหรือวิสัยทัศน์ตลอดจนกลยุทธ์ในการดําเนิน ธุรกิจขององค์กรต่อไป ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนตามสภาพความเป็นจริงที่ เป็นอยู่และประเมินโอกาสและอุปสรรคอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถ นําไปใช้ประโยชน์ได้จริง 
                  1. จุดเด่นหรือจุดแข็ง (Strengths) เป็นปัจจัยที่เป็นจุดเด่น หรือข้อดีที่เกิดจาก สภาพแวดล้อมภายในบริษัท องค์กรต้องวิเคราะห์การดําเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนาเพื่อพิจารณาถึงจุดแข็งของการดําเนินงานภายในเหล่านี้ เป็นระยะ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของการดําเนินงานเหล่านี้เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และความได้เปรียบของบริษัท 
                  2. จุดด้อยหรือจุดอ่อน (Weaknesses) เป็นปัจจัยที่เป็นจุดด้อยหรือข้อบกพร่องที่ เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท เป็นสิ่งที่บริษัทควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้ หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท 
                  3. โอกาส (Opportunities) เป็นปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อม ภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดําเนินงานของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึง จําเป็นต้องวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบ ที่เป็นประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อการดําเนินการของบริษัท และจะสามารถใช้โอกาสเหล่านี้มาเสริมสร้างให้บริษัทเข็มแข็งขึ้น ได้อย่างไร 
                  4. อุปสรรค (Threats) เป็นปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภาย นอกของบริษัทส่งผลกระทบในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการเปลี่ยนแปลงใดๆที่เป็นผลเสียและเป็นโทษต่อบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงจําเป็นต้องหลีกเลี่ยงหรือ ปรับสภาพให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้ 




การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation)
                      การตลาดแบบแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มๆหรือการตลาดเป้าหมาย (Segment marketing) เป็นการตลาดที่ผู้ขายจะแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มๆ แล้วเลือกที่จะเข้าไปทําตลาดเฉพาะกับกลุ่มที่ เห็นว่ามีขีดความสามารถจะทําได้จากนั้นก็พัฒนาส่วนประสมการตลาดเข้าไปเสนอ ตัวแปรของ การแบ่งส่วนตลาดหลัก ได้แก่ 
                    - การแบ่งส่วนตลาดตามภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation) คือ การแบ่งตลาด ตามอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ตามรัฐ ภาค ประเทศ จังหวัด เป็นต้น
                    - การแบ่งส่วนตลาดตามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ (Demographic Segmentation) คือ การแบ่งส่วนตลาดโดยใช้ตัวแปรทางประชากรศาสตร์เช่น อายุ เพศ ขนาดครอบครัว วัฎจักรครอบครัว รายได้ อาชีพ การศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ และสัญชาติ ตัวแปรทางประชากรศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมใช้ มากที่สุด 
                    - การแบ่งส่วนตลาดทางจิตวิทยา (Psychographic Segmentation) คือ การแบ่งส่วน ตลาดโดยใช้ วิถีการดํารงชีวิต บุคลิกภาพ ค่านิยม ของผู้บริโภคเป็นตัวแปร 
                    - การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Segmentation) คือ การแบ่ง ส่วนตลาดกลุ่มผู้บริโภคโดยอาศัยพื้นฐานของผู้บริโภคในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ทัศนคติ การใช้ผลิตภัณฑ์ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะของส่วนตลาดที่ดี มีดังนี้ 
                     - สามารถวัดได้ (measurable) คือ สามารถจะทราบว่าขนาดของตลาด อํานาจ ซื้อโดยรวม0มีขนาดใหญ่พอที่จะทํากําไรได้ (Substantial) ตลาดมีความใหญ่ พอที่บริษัทสามารถจะทํากําไรให้คุ้มกับความพยายาม 
                     - สามารถเข้าถึงได้ (accessible) หมายความว่า บริษัทสามารถจะเข้าไป ตอบสนองส่วนของตลาดเหล่านั้นได้ 
                     - มีความแตกต่าง (differentiable) เป็นส่วนตลาดที่จําเป็นต้องมีการตอบสนอง ความต้องการของแต่ละตลาดที่ต่างกัน
                     - สามารถดําเนินการได้ (actionable) โปรแกรมการตลาดที่กําหนดขึ้นสามารถ นํามาใช้กับส่วนของตลาดได้




ด้านการส่งเสริมการตลาด (Promotion) 
              การส่งเสริมการตลาด หมายถึง เครื่องมือหนึ่งที่มีความสําคัญในการติดต่อสื่อสาร ให้ข้อมูลระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เพื่อสร้างความ เชื่อถือ ทัศนคติที่ดีแจ้งข่าวสาร จูงใจให้เกิดความต้องการ เตือนความทรงจําเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โดยคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความเชื่อถือหรือพฤติกรรมการซื้อ เป็น กุญแจสําคัญของการตลาดสายสัมพันธ์ โดยเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารมีหลายประเภทซึ่งอาจ เลือกใช้ได้ดังนี้ 
             1. การโฆษณา (Advertising) เป็นทุกกิจกรรมในการเสนอข่าวสารโดยใช้สื่อ ต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์กร ผลิตภัณฑ์บริการ โดยมีการจ่ายเงินหรือเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ 
             2. การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) เป็นการจูงใจให้ซื้อสินค้าโดย บุคคลมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการขายและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า 
             3. การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เป็นเครื่องมือกระตุ้นความต้องการ ซื้อที่ใช้สนับสนุนการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขาย และการให้ข่าว ซึ่งสามารถ กระตุ้นความสนใจให้เกิดการทดลองซื้อสินค้า เครื่องมือส่งเสริมการขายประกอบด้วย - การส่งเสริมการขายมุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer promotion) เช่น การแจก ตัวอย่างสินค้า คูปองคืนเงินสด ลดราคา ของแถม ชิงรางวัล ทดลองใช้ฟรี รับประกัน ขายควบ สาธิต ตกแต่งจุดขาย เป็นต้น - การส่งเสริมการขายมุ่งสู่คนกลาง (Trade Promotion) เช่น การลดราคาให้ ร้านค้า สนับสนุนการโฆษณาและตกแต่งร้านค้า สินค้าตัวอย่าง - การส่งเสริมการขายมุ่งสู่ธุรกิจและพนักงานขาย (Business and SalesForce Promotion) เช่น ร่วมงานแสดงสินค้า จัดประชุม แข่งขันการขาย และ โฆษณาพิเศษต่างๆ



                   ทั้งนี้การจะใช้กลยุทธ์ผลัก หรือกลยุทธ์ดึงนั้นขึ้นอยู่กับปจจัยหลายประการรวมถึง ความสัมพันธ์ของบริษัทกับร้านค้า งบประมาณการส่งเสริมการตลาด อุปสงค์สําหรับสินค้าของ บริษัท บริษัทที่มีความสัมพันธ์อันดีกับร้านค้าอาจเลือกใช้กลยุทธ์ผลักและทํางานใกล้ชิดกับ สมาชิกของช่องทางการจัดจําหน่าย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสั่งสต๊อกสินค้าเพิ่มและส่งเสริมสินค้า ของบริษัท



วันอังคารที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สรุป บทที่ 3 E-business strategy

LEARNING OUTCOMES

           1. กลยุทธ์ทำให้เราเห็นทิศทางอนาคต การปฏิบัติขององค์กร หรือส่วนของหน่วยงานในองค์กร
           2. เป้าหมายอาศัยสารสนเทศทั้งภายในและภายนอก เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ขององค์กร หรือการนำสารสนเทศมาช่วยในองค์กรเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั่นเอง

อะไรคือกลยุทธ์
         
            - เพื่อที่จะบรรลุวัตถุประสงค์
            - เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้
            - ในการตลาด จะทำให้ประสบความสำเร็จ
            - กลยุทธ์เป็นแผนระยะยาว

ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ E-Business และกลยุทธ์อื่นๆ




แบบจำลองกระบวนการกลยุทธ์ทั่วไป


รูปแบบกลยุทธ์ E-Business Dynamic







Business Environment



สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ จึงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน ได้แก่

- สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจ Internal Environment คือสภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจสามารถควบคุมได้ หมายถึง ปัจจัยต่าง ๆ ที่ธุรกิจสามารถกำหนด และ ควบคุมได้เป็นไปตามความต้องการของธุรกิจถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโปรแกรมการตลาด โดยการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจ ในการนำไปเปรียบเทียบกับคู่แข่งขัน
- สภาพแวดล้อมภายในธุรกิจ External Environment ภาวะแวดล้อมที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมได้                   ปัจจัยกลุ่มนี้ หมายถึง ปัจจัยยังคับภายนอกธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด ถือว่าเป็นปัจจัยที่           ควบคุมไม่ได้แต่มีอิทธิพลต่อระบบการตลาด คือสร้างโอกาสหรืออุปสรรคแก่ธุรกิจ ซึ่งประกอบ               ด้วย สิ่งแวดล้อมจุลภาค และสิ่งแวดล้อมมหภาค


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับจุลภาค (Micro External Environment) 
      คือ ภาวะแวดล้อมภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถ ควบคุมได้ แต่สามารถเลือก ที่จะติดต่อและเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
- ตลาด หรือลูกค้า (Market)  
- ผู้ขายปัจจัยการผลิตหรือวัตถุดิบ (Suppliers)
- คนกลางทางการตลาด (Marketing Intermediaries)
- สาธารณชนและกลุ่มผลประโยชน์ (Publics) 


สภาพแวดล้อมภายนอกธุรกิจระดับมหภาค (Macro External Environment)
         คือ สภาพแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจและต่อระบบการตลาดเป็นอย่างมาก แต่ละหน่วยงานและองค์กรธุรกิจไม่สามารถควบคุมการเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ประการ ได้แก่
                   - ด้านการเมืองและกฎหมาย 
                   - เศรษฐกิจ
                   - สังคม
                   - เทคโนโลยี

S (Strengths) จุดแข็ง 
                เป็นปัจจัยภายในที่สามารถควบคุมได้ตามศักยภาพของธุรกิจที่มีอยู่ จุดแข็งนี้จะก่อให้เกิดผลดีต่อธุรกิจ ซึ่งส่งผลมาจากการบริหารงานภายในระหว่าง ผู้บริหารและบุคลากร หรืออาจมาจากความได้เปรียบในด้านทรัพยากรทางการบริหารต่างๆ เช่น มีสถานภาพทางการเงินที่มั่นคง ที่ตั้งอยู่ใกล้ทั้งแหล่งวัตถุดิบและแหล่งจัดจำหน่าย บุคลากรมีประสบการณ์และความสามารถสูง ฯลฯ



W (Weaknesses) จุดอ่อน 
               เป็นปัจจัยภายในที่เกิดจากปัญหาภายในธุรกิจ อันเนื่องมาจากการบริหารงานที่ผิดพลาด ข้อจำกัดบางประการของศักยภาพทางธุรกิจ ปัญหาเหล่านี้จะส่งผลร้ายถ้าไม่รีบดำเนินการแก้ไข เช่น ขาดสภาพคล่องทางการเงิน สินค้าที่ผลิตออกมามีคุณภาพ ไม่คงที่ ขาดการประสานงานที่ดีภายในองค์กร ฯลฯ

O (Opportunities) โอกาส 
               เป็นปัจจัยภายนอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือไม่เกิดขึ้นได้ แต่เป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันส่งผลดีให้กับธุรกิจโดยบังเอิญ เช่น กลุ่มลูกค้าเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้น นโยบายของรัฐให้การสนับสนุนธุรกิจประเภทนี้ สินค้าของคู่แข่งมีคุณภาพต่ำ ฯลฯ

T (Threats) อุปสรรค 
               เป็นปัจจัยภาย นอกที่ธุรกิจไม่สามารถเข้าไปควบคุมให้เกิดหรือ ไม่เกิดขึ้นได้ และเป็นสภาวการณ์แวดล้อมอันเลวร้ายที่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเสียหาย เช่น รัฐบาลขึ้นภาษี ปัญหาสภาพเศรษฐกิจตกต่ำ วัตถุดิบมีราคาสูงขึ้น เกิดภัยสงครามหรือภัยธรรมชาติ ฯลฯ




E-environment