ประวัติความเป็นมาและการเปลี่ยนแปลงพัฒนาที่สำคัญ
เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2542 คุณตัน ภาสกรนที กรรมการผู้จัดการ ได้เปิดให้บริการร้านอาหารญี่ปุ่นสไตล์บุฟเฟ่ต์ตลอดทั้งวัน แห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้ชื่อ "OISHI" หรือ "โออิชิ" ที่สุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ) ซึ่งสร้างความแตกต่างและความแปลกใหม่ให้แก่ผู้บริโภค ทั้งรูปแบบการให้บริการและราคา โดยคำนึงถึงความสดใหม่และความคุ้มค่าของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ทำให้ได้รับกระแสตอบรับอย่างสูงจากผู้บริโภค ส่งผลให้ชื่อ "โออิชิ" มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก ได้รับความนิยม และความเชื่อถือ จากกลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัยอย่างรวดเร็ว ต่อมาในปี 2543 ได้จัดตั้ง บริษัท โออิชิ เรสเตอร์รอง จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 10 ล้านบาท (ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) "บริษัทฯ") กิจการร้านอาหารได้เริ่มขยายสาขาออกไปในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ เพื่อตอบรับกระแสความนิยม และความต้องการของลูกค้า ต่อมาบริษัทฯ ได้เล็งเห็นศักยภาพและโอกาส ในการเติบโตของธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นและเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ จึงได้เปิดร้านอาหารประเภทดังกล่าวภายใต้ชื่อร้านค้าต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของกลุ่มลูกค้า ดังสามารถลำดับพัฒนาการสำคัญของธุรกิจในกลุ่มบริษัท จากอดีตถึงปัจจุบัน ได้ดังนี้
- 2542 เปิดดำเนินการร้านอาหารญี่ปุ่น "โออิชิ" สาขาแรกที่สุขุมวิท 55 (ซอยทองหล่อ)
- 2544 เปิดให้บริการร้านบะหมี่ญี่ปุ่น ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทย และรูปแบบการตกแต่งร้านที่ทันสมัย ภายใต้ชื่อ "โออิชิ ราเมน
- 2544 เปิดให้บริการร้านเบเกอรี่เพื่อสุขภาพ "อิน แอนด์ เอาท์ เดอะเบเกอรี่ คาเฟ่"
- 2545 เปิดบริการร้านอาหารระบบสายพานวนสไตล์บุฟเฟ่ต์ ที่บริการทั้งข้าวปั้นหน้าต่างๆ และสุกี้หม้อไฟญี่ปุ่น ภายใต้ชื่อ "ชาบูชิ"
- 2545 เปิดร้านค้าแบบสะดวกซื้อสำหรับข้าวปั้นหน้าต่างๆ ภายใต้ชื่อ "โออิชิ ซูชิบาร์"
- 2545 เปิดบริการ Dining Complex ภายใต้ชื่อ "ล็อกโฮม
- 2546 เปิดดำเนินการครัวกลางแห่งใหม่ที่โรงงานนวนคร หน่วยผลิตอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อสนับสนุนการขายภายในร้านค้าของบริษัทฯ
- 2546 เริ่มการผลิตเครื่องดื่มชาเขียวออกสู่ตลาด ภายใต้ชื่อ "โออิชิ กรีนที"
- 2546 เปิดให้บริการร้านสุกี้และบาร์บีคิว ภายใต้ชื่อ "โอเคสุกี้แอนด์บาร์บีคิว"
- 2546 ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับร้านโออิชิ ราเมน และ "อิน แอนด์ เอาท์ เดอะเบเกอรี่ คาเฟ่"
- 2547 แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2547
- 2547 นำหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัทเข้าทำการซื้อขาย ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในนาม "OISHI" เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2547
- 2547 ดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ สำหรับ ร้านโออิชิ บุฟเฟ่ต์
- 2547 เปิดให้บริการ "โออิชิ แกรนด์" แกรนด์บุฟเฟ่ต์ ที่สยามดิสคัฟเวอรี่ ด้วยบรรยากาศสไตล์โมเดิร์นแจแปนนิส กับบริการเหนือระดับ และอาหารหลากหลายชนิด เกรด A และหาทานยาก
- 2548 เริ่มผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำผลไม้ผสมอะมิโน ภายใต้ชื่อ "อะมิโน โอเค"
- 2549 มิถุนายน 2549 เปิดดำเนินการโรงงาน อมตะนคร
- 2549 พฤศจิกายน 2549 ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เครื่องดื่มน้ำผลไม้ รสส้ม ภายใต้ชื่อ "เซกิ ซุปเปอร์ ออเร้นจ์"
- 2550 เปิดให้บริการร้านอาหาร ภายใต้ชื่อ "ชายทะเล"
- 2550 ออกผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มน้ำผลไม้เซกิ รสทับทิม
- 2550 ออกชาเขียว รสชาดำผสมมะนาว
- 2551 มีนาคม 2551 ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ กาแฟพร้อมดื่ม ภายใต้ชื่อ "คอฟฟิโอ"
- 2551 เปิดให้บริการร้านอาหาร Maido Ookini Shokudo แฟรนไชส์จากประเทศญี่ปุ่น
เป็นผู้นำและสร้างสรรค์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มสไตล์ญี่ปุ่น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนรุ่นใหม่
พันธกิจ
- รักษาคุณภาพการผลิตและการบริการธุรกิจ ทางด้านอาหาร เบเกอรี่ และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ มุ่งมั่นสร้างและรักษาความนิยมของผู้บริโภค ในสินค้าของ "โออิชิ" ให้มีความต่อเนื่อง อีกทั้งให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐาน มีการจัดการด้านสุขลักษณะที่ดี
- เลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพปลอดภัยและสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้า เพื่อให้ได้รับการยอมรับ จากทั้งตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ
- ปรับปรุงกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการผลิต การวิจัย และการพัฒนาผลิตภัณฑ์
- เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการแข่งขัน ในด้านราคาและด้านคุณภาพ กับคู่แข่งขัน ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศไทย มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมากขึ้น
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (PEST Analysis)
- การวิเคราะห์แรงผลักดัน 5 ประการ (Five Force Analysis)
- การวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมภายนอกและภายในองค์กร (SWOT Analysis)
- การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวม(TOWS Matrix)
- กลยุทธ์ระดับบริษัท (Corporate-level Strategy)
- กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (Business-level Strategy)
- กลยุทธ์ระดับหน้าที่ (Functional-level Strategy)
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการและกลยุทธ์การตลาด
- การแบ่งส่วนตลาด การกําหนดตลาดเป้ าหมาย และการวางตําแหน่งผลิตภัณฑ์ (STP)
- กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (4Ps Marketing Mix Strategy)
- กลยุทธ์ผลัก-กลยุทธ์ดึง (Push-Pull Strategy)
แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์(Strategic Management)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก (PEST Analysis)
เป็นการวิเคราะห์ปจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกซึ่งเป็นปจจัยในระดับมหภาคอันได้แก่ กฎหมายและการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และเทคโนโลยี โดยปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกเหล่านี้อาจก่อให้เกิดโอกาสและอุปสรรคที่มีผลกระทบต่อการดําเนินกิจการของธุรกิจ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 4 ด้าน ดังต่อไปนี้
สภาพแวดล้อมทางการเมืองและกฎหมาย (Political and Legal)
เป็นการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและกฎหมายที่อาจจะมีผลทั้งในเชิง บวกและเชิงลบต่อการดําเนินงานขององค์กร เช่น สถานะความมั่นคงของรัฐบาล แนวโน้มของ กฎระเบียบข้อบังคับที่จะออกมาใหม่และกฎระเบียบข้อบังคับที่ใช้อยู่ในปจจุบัน นโยบายภาษีและการค้า การออกกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ลักษณะของสังคมและกฎหมาย การจ้างงาน เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ (Economic)
เป็นการวิเคราะห์ทิศทางของเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการดําเนินงานขององค์กร เช่น สถานการณ์ปจจุบันและการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจของอัตราเงินเฟ้อและอัตรา ดอกเบี้ย ผลผลิตมวลรวมในประเทศ การค้าระหว่างประเทศและดุลการชําระเงิน และอัตรา แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางสังคมและวัฒนธรรม (Social and Cultural)
เป็นการวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการ ดําเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการเติบโตของจํานวนประชากรและอายุเฉลี่ย สุขภาพของ ประชากร การเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากร สังคมวิถีชีวิตของสังคมเมืองและสังคมชนบท ระดับการศึกษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม วัฒนธรรม และการติดต่อสื่อสาร เป็นต้น
สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี (Technology)
เป็นการวิเคราะห์สภาพความเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีที่จะมีผลต่อการดําเนินงานของ องค์กร เช่น ผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ ผลกระทบของระบบอินเตอร์เน็ตและระบบการ ติดต่อสื่อสารแบบมีสายและแบบไร้สาย และระยะทางที่ไกลจากสํานักงานใหญ่ กิจกรรมการวิจัย และพัฒนา ผลกระทบของการถ่ายทอดด้านเทคโนโลยีเป็นต้น
การแข่งขันระหว่างธุรกิจที่มีอยู่ในอุตสาหกรรม (Rivalry among existing firms)
เป็นการวิเคราะห์เกี่ยวกับคู่แข่งขันทั้งหมดที่อยู่ในธุรกิจเดียวกันกับเราผลิตภัณฑ์และ ตลาดเดียวกับเราเพื่อตรวจสอบดูว่าคู่แข่งของเรามีกลยุทธ์อะไรบ้างที่มากระทบองค์กรของเรา เช่นการวิเคราะห์ขนาดของคู่แข่งขัน กําลังการผลิต เงินทุน ส่วนแบ่งการตลาด กลยุทธ์ของคู่ แข่งขัน รวมถึงสภาพเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อการแข่งขัน ซึ่งถ้าการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตใน อุตสาหกรรมมีความรุนแรงมากผลกําไรของอุตสาหกรรมก็จะลดลงโดยสามารถ พิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงของการแข่งขันได้ดังต่อไปนี้
- จํานวนและดุลยภาพของคู่แข่งขัน หมายถึง หากมีคู่แข่งขันอยู่จํานวนมากแต่ละ องค์กรย่อมมีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ๆ ออกมาต่อสู้แข่งขันเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ให้ตนเองซึ่งยิ่งทําให้ก่อให้เกิดการแข่งขันรุนแรงยิ่งขึ้น
- อัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมจะส่งผลต่อโอกาสในการเจริญเติบโตของ บริษัทในอุตสาหกรรมทําให้มียอดขายเพิ่ม หากมีอัตราการเติบโตตํ่าก็จะส่งผลต่อการแข่งขัน ด้านราคาทําให้กําไรน้อยลง
- คุณลักษณะของสินค้าหรือบริการ ถ้าสินค้าหรือบริการไม่มีความแตกต่างกันยิ่ง ต้องมีการนําเสนอที่มากทําให้ต้นทุนการตลาดสูงด้วย
- อุปสรรคกีดขวางการออกจากอุตสาหกรรม เช่น เป็นทรัพย์สินที่เป็นเฉพาะด้าน หรือมีการลงทุนสูงในตัวทรัพย์สิน ข้อตกลงกับสหภาพแรงงานในการจ่ายชดเชยที่สูงมากเป็นต้น
- ความภักดีในตรายี่ห้อ ถ้าลูกค้ามีความภักดีในตรายี่ห้อสูงการแข่งขันก็จะน้อย
- กําลังการผลิตส่วนเกิน ถ้าอุตสาหกรรมมีกําลังผลิตส่วนเกินการแข่งขันจะรุนแรง
- ต้นทุนคงที่ของธุรกิจ และต้นทุนในการเก็บรักษา
- คู่แข่งมีเป้าหมายกลยุทธ์ที่หลากหลาย เช่น มีเป้าหมายต้องการส่วนครองตลาด ไม่เน้นกําไร ต้องการสภาพคล่องในสภาวการณ์ช่วงนั้นการแข่งขันก็จะรุนแรง
การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยที่ประกอบด้วยส่วนของปัจจัยภายใน คือ จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) และปจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอก คือ โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats) ผลจากการวิเคราะห์จะถูกนําไปใช้เป็น ฐานข้อมูลในการกําหนดทิศทางการดําเนินงานหรือวิสัยทัศน์ตลอดจนกลยุทธ์ในการดําเนิน ธุรกิจขององค์กรต่อไป ดังนั้นจึงต้องวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนตามสภาพความเป็นจริงที่ เป็นอยู่และประเมินโอกาสและอุปสรรคอย่างถูกต้องเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและสามารถ นําไปใช้ประโยชน์ได้จริง
1. จุดเด่นหรือจุดแข็ง (Strengths) เป็นปัจจัยที่เป็นจุดเด่น หรือข้อดีที่เกิดจาก สภาพแวดล้อมภายในบริษัท องค์กรต้องวิเคราะห์การดําเนินงานภายใน เช่น การบริหาร การเงิน การตลาด การวิจัยและพัฒนาเพื่อพิจารณาถึงจุดแข็งของการดําเนินงานภายในเหล่านี้ เป็นระยะ และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของการดําเนินงานเหล่านี้เพื่อการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และความได้เปรียบของบริษัท
2. จุดด้อยหรือจุดอ่อน (Weaknesses) เป็นปัจจัยที่เป็นจุดด้อยหรือข้อบกพร่องที่ เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่างๆ ของบริษัท เป็นสิ่งที่บริษัทควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้ หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท
3. โอกาส (Opportunities) เป็นปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อม ภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดําเนินงานของบริษัท ดังนั้นบริษัทจึง จําเป็นต้องวิเคราะห์ว่าปัจจัยใดที่สามารถส่งผลกระทบ ที่เป็นประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ต่อการดําเนินการของบริษัท และจะสามารถใช้โอกาสเหล่านี้มาเสริมสร้างให้บริษัทเข็มแข็งขึ้น ได้อย่างไร
4. อุปสรรค (Threats) เป็นปัจจัยภายนอกซึ่งเป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภาย นอกของบริษัทส่งผลกระทบในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นการเปลี่ยนแปลงใดๆที่เป็นผลเสียและเป็นโทษต่อบริษัท ดังนั้นบริษัทจึงจําเป็นต้องหลีกเลี่ยงหรือ ปรับสภาพให้มีความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้
การแบ่งส่วนตลาด (Segmentation)
การตลาดแบบแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มๆหรือการตลาดเป้าหมาย (Segment marketing) เป็นการตลาดที่ผู้ขายจะแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มๆ แล้วเลือกที่จะเข้าไปทําตลาดเฉพาะกับกลุ่มที่ เห็นว่ามีขีดความสามารถจะทําได้จากนั้นก็พัฒนาส่วนประสมการตลาดเข้าไปเสนอ ตัวแปรของ การแบ่งส่วนตลาดหลัก ได้แก่
- การแบ่งส่วนตลาดตามภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation) คือ การแบ่งตลาด ตามอาณาเขตทางภูมิศาสตร์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ตามรัฐ ภาค ประเทศ จังหวัด เป็นต้น
- การแบ่งส่วนตลาดตามคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ (Demographic Segmentation) คือ การแบ่งส่วนตลาดโดยใช้ตัวแปรทางประชากรศาสตร์เช่น อายุ เพศ ขนาดครอบครัว วัฎจักรครอบครัว รายได้ อาชีพ การศึกษา ศาสนา เชื้อชาติ และสัญชาติ ตัวแปรทางประชากรศาสตร์เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มผู้บริโภคที่นิยมใช้ มากที่สุด
- การแบ่งส่วนตลาดทางจิตวิทยา (Psychographic Segmentation) คือ การแบ่งส่วน ตลาดโดยใช้ วิถีการดํารงชีวิต บุคลิกภาพ ค่านิยม ของผู้บริโภคเป็นตัวแปร
- การแบ่งส่วนตลาดตามพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Segmentation) คือ การแบ่ง ส่วนตลาดกลุ่มผู้บริโภคโดยอาศัยพื้นฐานของผู้บริโภคในด้านต่างๆ เช่น ความรู้ ทัศนคติ การใช้ผลิตภัณฑ์ และปฏิกิริยาตอบสนองต่อผลิตภัณฑ์ คุณลักษณะของส่วนตลาดที่ดี มีดังนี้
- สามารถวัดได้ (measurable) คือ สามารถจะทราบว่าขนาดของตลาด อํานาจ ซื้อโดยรวม0มีขนาดใหญ่พอที่จะทํากําไรได้ (Substantial) ตลาดมีความใหญ่ พอที่บริษัทสามารถจะทํากําไรให้คุ้มกับความพยายาม
- สามารถเข้าถึงได้ (accessible) หมายความว่า บริษัทสามารถจะเข้าไป ตอบสนองส่วนของตลาดเหล่านั้นได้
- มีความแตกต่าง (differentiable) เป็นส่วนตลาดที่จําเป็นต้องมีการตอบสนอง ความต้องการของแต่ละตลาดที่ต่างกัน
- สามารถดําเนินการได้ (actionable) โปรแกรมการตลาดที่กําหนดขึ้นสามารถ นํามาใช้กับส่วนของตลาดได้
การส่งเสริมการตลาด หมายถึง เครื่องมือหนึ่งที่มีความสําคัญในการติดต่อสื่อสาร ให้ข้อมูลระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อ เพื่อสร้างความ เชื่อถือ ทัศนคติที่ดีแจ้งข่าวสาร จูงใจให้เกิดความต้องการ เตือนความทรงจําเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ โดยคาดว่าจะมีอิทธิพลต่อความรู้สึก ความเชื่อถือหรือพฤติกรรมการซื้อ เป็น กุญแจสําคัญของการตลาดสายสัมพันธ์ โดยเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารมีหลายประเภทซึ่งอาจ เลือกใช้ได้ดังนี้
1. การโฆษณา (Advertising) เป็นทุกกิจกรรมในการเสนอข่าวสารโดยใช้สื่อ ต่าง ๆ เกี่ยวกับองค์กร ผลิตภัณฑ์บริการ โดยมีการจ่ายเงินหรือเป็นผู้อุปถัมภ์รายการ
2. การขายโดยพนักงานขาย (Personal Selling) เป็นการจูงใจให้ซื้อสินค้าโดย บุคคลมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการขายและสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า
3. การส่งเสริมการขาย (Sales Promotion) เป็นเครื่องมือกระตุ้นความต้องการ ซื้อที่ใช้สนับสนุนการโฆษณา การขายโดยใช้พนักงานขาย และการให้ข่าว ซึ่งสามารถ กระตุ้นความสนใจให้เกิดการทดลองซื้อสินค้า เครื่องมือส่งเสริมการขายประกอบด้วย - การส่งเสริมการขายมุ่งสู่ผู้บริโภค (Consumer promotion) เช่น การแจก ตัวอย่างสินค้า คูปองคืนเงินสด ลดราคา ของแถม ชิงรางวัล ทดลองใช้ฟรี รับประกัน ขายควบ สาธิต ตกแต่งจุดขาย เป็นต้น - การส่งเสริมการขายมุ่งสู่คนกลาง (Trade Promotion) เช่น การลดราคาให้ ร้านค้า สนับสนุนการโฆษณาและตกแต่งร้านค้า สินค้าตัวอย่าง - การส่งเสริมการขายมุ่งสู่ธุรกิจและพนักงานขาย (Business and SalesForce Promotion) เช่น ร่วมงานแสดงสินค้า จัดประชุม แข่งขันการขาย และ โฆษณาพิเศษต่างๆ
ทั้งนี้การจะใช้กลยุทธ์ผลัก หรือกลยุทธ์ดึงนั้นขึ้นอยู่กับปจจัยหลายประการรวมถึง
ความสัมพันธ์ของบริษัทกับร้านค้า งบประมาณการส่งเสริมการตลาด อุปสงค์สําหรับสินค้าของ
บริษัท บริษัทที่มีความสัมพันธ์อันดีกับร้านค้าอาจเลือกใช้กลยุทธ์ผลักและทํางานใกล้ชิดกับ
สมาชิกของช่องทางการจัดจําหน่าย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการสั่งสต๊อกสินค้าเพิ่มและส่งเสริมสินค้า
ของบริษัท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น